การแข่งขันทางธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตและความต้องการของตลาด ทำให้การผลิตสินค้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรที่ใช้งานตลอดเวลาไม่มีการหยุดพัก นานวันจะทำให้เครื่องจักรทรุดโทรมหรือเสียหายได้
ไม่ว่าจะมีอาการเสียงดังผิดปกติ,สั่นสะเทือน,ความร้อนและอื่นๆที่เกิด ส่งผลให้สภาพแวดล้อมและสภาพจิตของพนักงานแย่ลง จนกระทั่งเมื่อเครื่องจักรเกิดการ Breaks Down หรือพังเสียหาย ผลกระทบที่ได้รับอันดับแรกเลย นั้นก็คือ “เสียเงินก้อนใหญ่” คุณต้องใช้จ่าย เงินมากมายเพื่อทำการซ่อมแซมเครื่องจักรและอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆมากขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว เช่น ค่าอะไหล่, ค่าเเรงทีมงานช่างซ่อม เป็นต้น เมื่อใช้จ่ายค่าซ่อมแซมแล้วมาควบคู่กับ “ใช้เวลาในการซ่อมบำรุง” แน่นอนว่าการซ่อมบำรุงต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควรที่จะตรวจสอบหาสาเหตุของอาการเสียของเครื่องจักร หาอะไหล่ซ่อมแซม หาทีมงานซ่อม วางแผนการซ่อม ซึ่งอาจจะเพิ่มเวลาให้มาขึ้นไปอีก ทำให้เสียเวลาในการผลิตและเสียรายได้ ซึ่งผลกระทบโดยภาพรวมคือ“โอกาสในการทำกำไรน้อยลง”ถ้าเกิดการหยุดผลิตสินค้าไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม กำไรที่ได้จากสินค้าลดลงเพราะต้นทุนสินค้าต่อชิ้นมีราคาสูงขึ้น
ป้องกันเครื่องจักรของคุณก่อนที่จะได้เกิดปัญหาเหล่านี้ และผลกระทบที่ตามมาอย่างไม่คาดคิดด้วยเครื่องมือวัดการสั่นสะเทือน ช่วยให้การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามมาตรฐาน ISO 10816-3: 2009(ISO Vibration Evaluation Standard) มาตรฐานนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการวิเคราะห์และสังเคราะห์ของเครื่องจักรที่มีการหมุน (rotational machinery) โดยค่าสัมบูรณ์ของความเร็วเพื่อบอกระดับความผิดปกติของการสั่นสะเทือน ที่สำคัญค่าที่วัดได้ต้องมีแม่นยำสูง,เที่ยงตรงและได้มาตรฐาน
ข้อดีของการวัดการสั่นสะเทือน
การบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบคาดการณ์ล่วงหน้าและใช้กันอย่างแพร่หลายโดยการใช้เครื่องมือต่างๆ แต่การวัดความสั่นสะเทือนคือวิธีการที่นิยมมากที่สุด
- เหมาะที่สุดสำหรับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆเนื่องจากมีความไวสูง
- ให้ข้อมูลทางเทคนิคจำนวนมากทำให้ง่ายต่อการกำหนดวิธีการวิเคราะห์
- ต้นทุนต่ำและติดตั้งง่าย