หลักการคำนวณหาพิกัดน้ำหนักของ Load Cells

ปัญหาที่พบบ่อยตามโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปที่ต้องเปลี่ยนโหลดเซลล์บ่อยๆก็คือ โหลดเซลล์เสียหาย อันเนื่องมาจากการเลือกใช้พิกัดน้ำหนักของโหลดเซลล์ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของงาน ฉะนั้นการเลือกพิกัดน้ำหนักของ Load cell จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน

หากเราเลือกโหลดเซลล์ที่มีพิกัดน้ำหนักน้อยเกินไป จะส่งผลกระทบกับตัวโหลดเซลล์เสียหาย หรือ ถ้าใช้พิกัดน้ำหนักมากเกินไปจะส่งผลให้ค่าน้ำหนักผิดพลาดได้ ซึ่งควรคำนวณหาค่าพิกัดน้ำหนักโหลดเซลล์ต่อตัวเสียก่อนที่จะเลือกซื้อโหลดเซลล์มาใช้งาน

สิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกในการคำนวณหาค่าพิกัดน้ำหนักโหลดเซลล์
นั่นก็คือ น้ำหนักที่ต้องการชั่ง เราต้องรู้ถึงความต้องการก่อนว่าเราต้องการชั่งอะไร,น้ำหนักที่ต้องการชั่งเท่าไหร่,ค่าความละเอียดน้ำหนักเท่าไหร่ เมื่อได้ค่าน้ำหนักที่ต้องการชั่งแล้ว
เราต้องรู้ค่าน้ำหนักของภาชนะสำหรับชั่งด้วย(ค่าน้ำหนักของภาชนะที่ยังไม่ได้มีการโหลดน้ำหนักใดใด) แล้วนำค่าน้ำหนักที่ต้องการชั่งมารวมกับค่าน้ำหนักของภาชนะเปล่าจะได้ค่าน้ำหนักรวม

เพื่อป้องกันความเสียหายจากแรงกระแทก เช่น ในกรณีที่มีการปล่อยของลงถัง(Load) และปล่อยออกจากถังุ (Unload) เราจึงต้องเผื่อค่ารับน้ำหนักประมาณ 2 เท่าของน้ำหนักรวม(ค่า safety factor) โดยนำค่าน้ำหนักรวมที่ได้มาคูณ จากนั้นเมื่อเราได้คำนวณค่าน้ำหนักทั้งหมดแล้ว นำมาหารด้วยจำนวนของโหลดเซลล์ที่เราต้องการใช้ติดตั้ง เช่น ขาถังฮอปเปอร์มี 4 ด้าน จำนวนที่ต้องการใช้คือ 4 ตัวนั่นเอง สรุปสูตรคำนวณ ดังนี้

ยกตัวอย่างเช่น  ต้องการชั่งน้ำหนักทรายในถัง Hopper น้ำหนักทรายที่ต้องการชั่ง 800kg. ถัง Hopper หนัก 200kg ฐานยึดถังมี 4 ด้าน

แทนสูตร                      [(800 + 200) x 2] / 4 = 500 kg
           ก็จะได้ค่าพิกัดน้ำหนักของโหลดเซลล์ 1 ตัว ที่ 500 kg จากนั้นเราจึงมาเลือกประเภทของโหลดเซลล์ที่เหมาะกับถัง Hopper นั้นก็คือ โหลดเซลล์แรงกดประเภท Shear Beam แล้วเลือกพิกัดน้ำหนักที่ตรงตามที่คำนวณไว้หรือใกล้เคียงกัน นั้นก็คือ Model 3410 500kg จำนวน 4 ตัว

แชร์