สกรูลำเลียง(Screw Conveyor) เป็นอุปกรณ์เชิงกลที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับขนถ่ายวัสดุต่างๆ ส่วนมากจะนิยมใช้ในการขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล เช่น แป้ง,ข้าว,ทรายแห้ง,ซีเมนต์,
เม็ดพลาสติกและเมล็ดธัญพืชการเกษตร เป็นต้น สกรูลำเลียงจะมีชิ้นส่วนประกอบหลักที่สำคัญประกอบด้วย 3 อย่างหลักๆ คือ
– รางตัวถังหรือท่อลำเลียง
– ใบเกลียวสกรูขนถ่าย
– ต้นกำลังขับหรือมอเตอร์
ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในแนวระนาบหรือแนวลาดเอียง เช่น รางสกรูลำเลียง (Screw Chute Conveyor) ลำเลียงในแนวระนาบ ,ท่อสกรูขนถ่าย (Screw Pipe Conveyor) ลำเลียงในแนวลาดเอียง ขึ้นอยู่ว่าผู้ใช้งานต้องการลำเลียงวัสดุอะไร ในทิศทางไหน
ใบเกลียวลำเลียงเป็นส่วนสำคัญของสกรูลำเลียง เพราะขนาดและระยะพิทของใบเกลียวมีผลต่อการลำเลียงวัสดุเป็นอย่างมาก ทิศทางการลำเลียงขึ้นอยู่กับการเลือกใช้แบบหมุนซ้ายหรือแบบหมุนขวา วัสดุของตัวใบเกลียวเลือกให้เหมาะสมกับวัสดุที่ใช้
ฉะนั้นการเลือกใบเกลียวที่ดีจะต้องรีดยาวตลอดเส้น ไม่มีรอยต่อ แข็งแรงทนทานและมีคุณภาพ เมื่อเลือกมาใช้งาน ช่างหรือวิศวกรจะพูดสเปคสั่นๆ เช่น ใบเกลียว4นิ้ว หรือ ใบเกลียว4นิ้ว 102 ยาว3เมตร หลายท่านที่ยังไม่รู้วิธีการดูสเปคอาจจะไม่เข้าใจขนาดของใบเกลียวนั้นเท่าไหร่ วิธีการดูสเปคไม่ยาก เพียงเข้าใจรายละเอียดของใบเกลียว
มีความหมายอย่างละเอียด ดังนี้
OD(Inch.) = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวัดโดยประมาณ(นิ้ว)
OD = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของใบเกลียว(มม.)
ID = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของใบเกลียว(ขนาดของเพลาแกนกลาง)(มม.)
Pitch = ระยะห่างระหว่างยอดเกลียวถึงยอดเกลียว(มม.)
Thickness = ความหนาของใบเกลียว(มม.)
Length = ความยาวตลอดทั้งเส้น(มม.)
Direct = ทิศทางการหมุนลำเลียงชิ้นงานของใบเกลียว
Material = ประเภทวัสดุของใบเกลียว
ตัวอย่างการเลือกขนาดใบเกลียวลำเลียง
เช่น ใบเกลียว Dia.6”เหล็ก 150 x 48.3 x 150 x 4.5 x 3000 mm. หมุนซ้าย/ขวา
เราก็จะได้สเปคของใบเกลียวที่นำเอาไปใช้งานในระบบสกรูลำเลียงได้อย่างเหมาะสม และเข้าใจถึงรายละเอียดต่างๆของใบเกลียวอีกด้วย