การแข่งขันทางธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตและความต้องการของตลาด ทำให้การผลิตสินค้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรที่ใช้งานตลอดเวลาไม่มีการหยุดพัก นานวันจะทำให้เครื่องจักรทรุดโทรมหรือเสียหายได้ ไม่ว่าจะมีอาการเสียงดังผิดปกติ,สั่นสะเทือน,ความร้อนและอื่นๆที่เกิด ส่งผลให้สภาพแวดล้อมและสภาพจิตของพนักงานแย่ลง จนกระทั่งเมื่อเครื่องจักรเกิดการ Breaks Down หรือพังเสียหาย ผลกระทบที่ได้รับอันดับแรกเลย นั้นก็คือ “เสียเงินก้อนใหญ่” คุณต้องใช้จ่าย เงินมากมายเพื่อทำการซ่อมแซมเครื่องจักรและอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆมากขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว เช่น ค่าอะไหล่, ค่าเเรงทีมงานช่างซ่อม เป็นต้น เมื่อใช้จ่ายค่าซ่อมแซมแล้วมาควบคู่กับ “ใช้เวลาในการซ่อมบำรุง” แน่นอนว่าการซ่อมบำรุงต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควรที่จะตรวจสอบหาสาเหตุของอาการเสียของเครื่องจักร หาอะไหล่ซ่อมแซม หาทีมงานซ่อม วางแผนการซ่อม ซึ่งอาจจะเพิ่มเวลาให้มาขึ้นไปอีก ทำให้เสียเวลาในการผลิตและเสียรายได้ ซึ่งผลกระทบโดยภาพรวมคือ“โอกาสในการทำกำไรน้อยลง”ถ้าเกิดการหยุดผลิตสินค้าไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม กำไรที่ได้จากสินค้าลดลงเพราะต้นทุนสินค้าต่อชิ้นมีราคาสูงขึ้น ป้องกันเครื่องจักรของคุณก่อนที่จะได้เกิดปัญหาเหล่านี้
แนะนำการดูสเปคของใบเกลียวลำเลียง
สกรูลำเลียง(Screw Conveyor) เป็นอุปกรณ์เชิงกลที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับขนถ่ายวัสดุต่างๆ ส่วนมากจะนิยมใช้ในการขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล เช่น แป้ง,ข้าว,ทรายแห้ง,ซีเมนต์,เม็ดพลาสติกและเมล็ดธัญพืชการเกษตร เป็นต้น สกรูลำเลียงจะมีชิ้นส่วนประกอบหลักที่สำคัญประกอบด้วย 3 อย่างหลักๆ คือ – รางตัวถังหรือท่อลำเลียง– ใบเกลียวสกรูขนถ่าย – ต้นกำลังขับหรือมอเตอร์ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในแนวระนาบหรือแนวลาดเอียง เช่น รางสกรูลำเลียง (Screw Chute Conveyor) ลำเลียงในแนวระนาบ ,ท่อสกรูขนถ่าย (Screw Pipe Conveyor) ลำเลียงในแนวลาดเอียง ขึ้นอยู่ว่าผู้ใช้งานต้องการลำเลียงวัสดุอะไร ในทิศทางไหน
หลักการคำนวณหาพิกัดน้ำหนักของ Load Cells
ปัญหาที่พบบ่อยตามโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปที่ต้องเปลี่ยนโหลดเซลล์บ่อยๆก็คือ โหลดเซลล์เสียหาย อันเนื่องมาจากการเลือกใช้พิกัดน้ำหนักของโหลดเซลล์ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของงาน ฉะนั้นการเลือกพิกัดน้ำหนักของ Load cell จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน หากเราเลือกโหลดเซลล์ที่มีพิกัดน้ำหนักน้อยเกินไป จะส่งผลกระทบกับตัวโหลดเซลล์เสียหาย หรือ ถ้าใช้พิกัดน้ำหนักมากเกินไปจะส่งผลให้ค่าน้ำหนักผิดพลาดได้ ซึ่งควรคำนวณหาค่าพิกัดน้ำหนักโหลดเซลล์ต่อตัวเสียก่อนที่จะเลือกซื้อโหลดเซลล์มาใช้งาน สิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกในการคำนวณหาค่าพิกัดน้ำหนักโหลดเซลล์นั่นก็คือ น้ำหนักที่ต้องการชั่ง เราต้องรู้ถึงความต้องการก่อนว่าเราต้องการชั่งอะไร,น้ำหนักที่ต้องการชั่งเท่าไหร่,ค่าความละเอียดน้ำหนักเท่าไหร่ เมื่อได้ค่าน้ำหนักที่ต้องการชั่งแล้วเราต้องรู้ค่าน้ำหนักของภาชนะสำหรับชั่งด้วย(ค่าน้ำหนักของภาชนะที่ยังไม่ได้มีการโหลดน้ำหนักใดใด) แล้วนำค่าน้ำหนักที่ต้องการชั่งมารวมกับค่าน้ำหนักของภาชนะเปล่าจะได้ค่าน้ำหนักรวม เพื่อป้องกันความเสียหายจากแรงกระแทก เช่น ในกรณีที่มีการปล่อยของลงถัง(Load) และปล่อยออกจากถังุ (Unload) เราจึงต้องเผื่อค่ารับน้ำหนักประมาณ 2 เท่าของน้ำหนักรวม(ค่า safety factor) โดยนำค่าน้ำหนักรวมที่ได้มาคูณ จากนั้นเมื่อเราได้คำนวณค่าน้ำหนักทั้งหมดแล้ว
บรรจุ(วัตถุดิบ)อย่างไรไม่ให้ขาดทุน!!?
อุตสาหกรรมอาหารมีการขยายตัวมากขึ้นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้งานเกี่ยวกับงาน Packing โดยเฉพาะงานบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆไม่ว่าจะเป็นอาหารสำหรับมนุษย์,อาหารสำหรับสัตว์,ธัญพืชทางเกษตรและอื่นๆ ผู้ผลิตจึงต้องใส่ใจถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และผลกำไรของผลิตภัณฑ์ด้วย เพื่อประหยัดต้นทุนและลดการขาดทุน ผู้ผลิตจึงมีการตรวจสอบภายใน process ในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิตการแบบแบตช์(Batch) ให้ผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน และปริมาตรที่ได้ไม่ขาดและไม่เกินจนเกินไป ฉะนั้นกระบวนการบรรจุจึงเป็นสิ่งสำคัญของงาน packing ก่อนที่จะมีการบรรจุนั้นเราต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการชั่งน้ำหนักใส่ถุงบรรจุ(Batch Weighing) ต้องได้ค่าน้ำหนักที่ถูกต้อง แม่นยำในการตัดต่อวาล์วสูง ลดการสั่นสะเทือนในขณะบรรจุ ผู้ผลิตจึงต้องเลือกIndicatorให้เหมาะสมกับลักษณะงานนี้ ซึ่งมีครบคุณสมบัติของ AD-4401A Weighing Indicator กับการฟังก์ชั่นการตั้งค่า Set point พร้อม Status display